วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

้hw-Preposition (บุพบท)


Preposition  (บุพบท)
https://sites.google.com/site/prapasara/chow-deiyw-not

เรื่องการใช้บุพบทในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับนักเรียนไทยส่วนใหญ่ เพราะวิธีการใช้ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสำนวน แต่ละประโยค ซึ่งเรียกว่าเรียนกันไปจบไม่สิ้นทีเดียว
แต่ทว่า "การเดินทางหมื่นลี้ เริ่มจากก้าวแรก" ดังนั้นครูจึงขอให้นักเรียนเริ่มให้ความสนใจกับบุพบทในภาษาอังกฤษนับตั้งแต่วันนี้ บุพบทคือคำที่ใช้เชื่อมคำนาม,คำสรรพนาม,หรือวลีเข้าด้วยกัน โดยคำหรือวลีที่อยู่หลังบุพบทจะถูกเรียกว่า "กรรมตามหลังบุพบท" คำบุพบทจะใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือวลีที่อยู่หลังบุพบทนั้นมีความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆอย่างไรในประโยค ในที่นี้ ครูขอแบ่งบุพบทในภาษาอังกฤษเป็น 3 หมวดใหญ่ ได้แก่
บุพบทบอกเวลา
บุพบทบอกสถานที่
บุพบทลูกผสม คือบอกสถานที่และทิศทางในเวลาเดียวกัน

(อย่างไรก็ตามในภาษาอังกฤษก็ยังมีบุพบทที่ทำหน้าที่อื่นๆ อีกด้วยซึ่งจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป)


การใช้บุพบทบอกเวลา



ตารางต่อไปนี้แสดงการใช้บุพบทบอกเวลา


บุพบท คำอธิบายการใช้ ตัวอย่าง
in ใช้กับชื่อเดือน
in July; in September

  ใช้กับ ปีค.ศ. in 1985; in 1999
  ใช้กับชื่อฤดูกาล in summer; in the summer of 69
  ใช้กับช่วงเวลาของวัน เช่น ตอนเช้า ตอนบ่าย ตอนกลางคืน in the morning; in the afternoon; in the evening
  ใช้กับระยะเวลา (ในอนาคต) in a minute; in two weeks




บุพบท คำอธิบายการใช้ ตัวอย่าง
at ช่วงของวัน เช่น ตอนกลางคืน at night (เป็นสำนวน)
  ใช้กับจุดเวลา at 6 o'clock; at midnight
  ใช้กับเทศกาล at Christmas; at Easter
  ใช้กับสำนวนเฉพาะ at the same time




preposition use
examples

on ใช้กับชื่อวันในสัปดาห์ on Sunday; on Friday
  ใช้กับวันที่ on the 25th of December*
  ใช้กับวันพิเศษ on Good Friday; (วันศุกร์ของสัปดาห์อีสเตอร์)
on Easter Sunday (วันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันอีสเตอร์)
on my birthday (วันเกิดของฉัน)




* คำที่เป็นตัวเอียงให้ละไปในภาษาเขียน (เช่น on 25th December อ่านว่า on the twenty fifth of December)


บุพบท คำอธิบายการใช้ ตัวอย่าง
after หลังจาก กิจกรรมบางอย่าง. after school (หลังเลิกเรียน)
before ก่อนบางอย่างจะเกิดขึ้น before Christmas (ก่อนเทศกาลคริสมาส)
by ก่อนถึงเวลาหนึ่งๆ by Thursday (ก่อนจะถึงวันพฤหัสบดี)
during ระหว่าง (+คำนาม) during the holidays (ระหว่างวันหยุด)
between ระหว่างสองจุดเวลา between Monday and Friday (ระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์)
from ... to
from... till/until ตั้งแต่...จนถึง... from Monday to Wednesday
from Monday till Wednesday
from Monday until Wednesday (ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันพุธ)
past ใช้กับการบอกเวลา 23 minutes past 6 (6:23)
(ถ้าแปลตรงตัวจะแปลว่า ยี่สิบสามนาที ผ่าน หก ซึ่งหมายความว่า ผ่านหกนาฬิกามาได้ยี่สิบสามนาทีแล้ว = 6:23 น.)
to ใช้กับการบอกเวลา 23 minutes to 6 (5:37) (ถ้าแปลตรงตัวจะแปลว่า ยี่สิบสามนาที จะถึง หก ซึ่งหมายความว่า อีกยี่สิบสามนาทีจะหกนาฬิกา = 5:37 น.)
for ใช้กับระยะเวลา for three weeks (เป็นเวลาสามสัปดาห์)
since ใช้กับจุดเวลา (แปลว่า ตั้งแต่) since Monday (ตั้งแต่วันจันทร์)
till/until จนถึง till tomorrow
until tomorrow
(จนถึงวันพรุ่งนี้)
up to ใช้กับการบอกปริมาณเวลาว่า ปริมาณสูงสุดจะไม่เกินปริมาณนี้ up to 6 hours a day (มากถึงหกชั่วโมงต่อวัน)
within ใช้กับระยะเวลา เพื่อบอกว่าระยะเวลาสิ้นสุดจะเกิดขึ้นเมื่อใด within a day (ภายในหนึ่งวัน)


การใช้บุพบทบอกสถานที่ (in, on, at)



ตารางต่อไปนี้แสดงการใช้บุพบทบอกสถานที่ in, on, at


บุพบท ประโยคตัวอย่าง คำแปล
in
We sit in the room .
เรานั่งอยู่ในห้อง
  I see a house in the picture .
ฉันเห็นม้าตัวนึงในรูป
  There are trouts in the river .
ในแม่น้ำมีปลาเทร้าท์
  He lives in Paris .
เขาอาศัยอยู่ในเมืองปารีส
  I found the picture in the paper .
ฉันเจอรูปในหนังสือพิมพ์
  He sits in the corner of the room .
เขานั่งอยู่มุมห้อง
  He sits in the back of the car .
เขานั่งอยู่ท้ายรถ
  We arrive in Madrid .
พวกเรามาถึงเมืองแมดริด
  He gets in the car .
เขาขึ้นรถ (เข้ามาบนรถ)
  She likes walking in the rain .
หล่อนชอบเดินตากฝน
  My cousin lives in the country .
ลูกพี่ลูกน้องฉันอาศัยอยู่ในชนบท
  There are kites in the sky .
มีว่าวอยู่ในท้องฟ้า
  He plays in the street . (BE)
เขาเล่นอยู่บนถนน
  She lives in a hotel .
หล่อนพักอยู่ในโรงแรมแห่งหนึ่ง
  The boys stand in a line .
เด็กชายหลายคนยืนเข้าแถว
  He is in town .
เขาอาศัยอยู่ในแมือง
  I have to stay in bed .
ฉันต้องนอนอยู่บนเตียง
  The robber is in prison now.
โจรติดคุกอยู่ในตอนนี้


บุพบท ประโยคตัวอย่าง คำแปล
at
She sits at the desk . หล่อนนั่งอยู่ที่โต๊ะ
  Open your books at page 10 . เปิดหนังสือไปที่หน้า 10
  The bus stops at Kent . รถประจำทางจอดที่แคนท์
  I stay at my grandmother's . ฉันอยู่ที่บ้านของคุณยาย
  I stand at the door . ฉันยืนอยู่ที่ประตู
  Look at the top of the page . มองที่ส่วนบนของหน้า
  The car stands at the end of the street . รถจอดอยู่ที่สุดถนน (ท้ายซอย)
  You mustn't park your car at the front of the school . คุณห้ามจอดรถที่หน้าโรงเรียน
  Can we meet at the corner of the street ? เราจะไปเจอกันที่หัวมุมถนนได้ไหม?
  I met John at a party . ฉันเจอกับจอห์นที่งานปาร์ตี้งานหนึ่ง
  Pat wasn't at home yesterday. เมื่อวานนี้แพทไม่อยู่บ้าน
  I study economics at university . ฉันเรียนวีชาเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
  He always arrives late at school . เขามักมาโรงเรียนสาย


บุพบท preposition คำอธิบายการใช้ use ตัวอย่าง examples
on The map lies on the desk .
แผนที่อยู่บนโต๊ะ
  The picture is on page 10 . รูปอยู่ที่หน้า 10
  The photo hangs on the wall . รูปถ่ายแขวนอยู่บนกำแพง
  He lives on a farm . เขาอาศัยอยู่ในฟาร์ม
  London Eye lies on the river Thames ลอนดอนอาย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเทมส์
  Men's clothes in on the second floor . แผนกเสื้อผ้าชายอยู่ชั้นสอง
  The shop is on the left . ร้านค้าอยู่ทางซ้ายมือ
  My friend is on the way to Moscow . เพื่อนของฉันกำลังอยู่ระหว่างการเดินทางไปเมืองมอสโค
  Write this information on the front of the letter . เขียนข้อมูลนี้ลงบนด้านหน้าของจดหมาย


การใช้บุพบทบอกสถานที่และทิศทาง



ตารางต่อไปนี้แสดงการใช้บุพบทบอกสถานที่และทิศทาง


บุพบท คำอธิบาย ประโยคตัวอย่างและคำแปล
above อยู่เหนือ The picture hangs above my bed.
(รูปแขวนอยู่เหนือเตียงฉัน)
across จากอีกฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง You mustn't go across this road here.
(คุณข้ามถนนตรงนี้ไม่ได้)
There isn't a bridge across the river.
(ไม่มีสะพานที่จะข้ามแม่น้ำ)
after สิ่งหนึ่งที่ตามหลังอีกสิ่งหนึ่ง The cat ran after the dog.
(แมววิ่งไล่สุนัข)
After you. ต่อจากคุณนะครับ (เช่น ให้คุณทำให้เสร็จก่อน แล้วผมค่อยทำต่อ หรือ ใช้พูดเวลาเปิดประตูให้เพื่อน แล้วต้องการให้เพื่อนผ่านประตูไปก่อน)
against directed towards sth. The bird flew against the window.
along ไปตามแนว They're walking along the beach.
พวกเขาเดินไปตามชายหาด
among ในกลุ่ม, ท่ามกลาง I like being among people.
ฉันชอบอยู่ท่ามกลางผู้คน
around รอบๆ We're sitting around the campfire.
พวกเรานั่งล้อมรอบกองไฟ
behind ข้างหลัง Our house is behind the supermarket.
บ้านของพวกเราอยู่หลังซุปเปอร์มาร์เก็ต
below อยู่ต่ำกว่า Death Valley is 86 metres below sea level.
เด็ธวัลลิ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 86 เมตร
beside ข้างๆ Our house is beside the supermarket.
บ้านของเราอยู่ข้างซุปเปอร์มาร์เก็ต
between ระหว่าง Our house is between the supermarket and the school.
บ้านของเราอยู่ระหว่างซุปเปอร์มาร์เก็ตกับโรงเรียน
by ใกล้ He lives in the house by the river.
เขาอยู่ในบ้านที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำ
close to ใกล้ Our house is close to the supermarket.
บ้านของเราอยู่ติดกับซุปเปอร์มาร์เก็ต
down จากที่สูงลงมาสู่ที่ต่ำ, ลงมาจาก He came down the hill.
เขาลงมาจากเนินเขา
from จาก (สถานที่เริ่มต้น) Do you come from Tokyo ?
คุณมาจากเมืองโตเกียวใช่ไหม
in front of ข้างหลัง Our house is in front of the supermarket.
บ้านของเราอยู่หน้าซุปเปอร์มาร์เก็ต
inside ข้างใน You shouldn't stay inside the castle.
คุณไม่ควรอยู่ข้างในปราสาท
into เข้าไปใน You shouldn't go into the castle.
คุณไม่ควรเข้าไปในปราสาท
near ใกล้ Our house is near the supermarket.
บ้านของเราอยู่ใกล้ซุปเปอร์มาร์เก็ต
next to ติดกับ ข้างๆ Our house is next to the supermarket.
บ้านของเราอยู่ติดกับซุปเปอร์มาร์เก็ต
off ออกไปจาก The cat jumped off the roof.
แมวกระโดดออกไปจากหลังคา
onto ไปอยู่บน The cat jumped onto the roof.
แมวกระโดดขึ้นไปบนหลังคา
opposite ตรงข้ามกับ Our house is opposite the supermarket.
บ้านของเราอยู่ตรงข้ามกับซุปเปอร์มาร์เก็ต
out of ออกไปทาง The cat jumped out of the window.
แมวกระโดดออกไปทางหน้าต่าง
outside ข้างนอก Can you wait outside ?
คุณรออยู่ข้างนอกได้ไหม
over ข้าม The cat jumped over the wall.
แมวกระโดดข้ามกำแพง
past ผ่าน Go past the post office.
ผ่านที่ทำการไปรษณีย์ไป
round รอบๆ We're sitting round the campfire.
พวกเรานั่งล้อมรอบกองไฟ
through ตัดผ่าน You shouldn't walk through the forest.
คุณไม่ควรเดินผ่านป่า
to ไปยัง มายัง I like going to Australia
ฉันชอบไปทวีปออสเตรเลีย
Can you come to me?
คุณมาหาฉันหน่อยได้ไหม
I've never been to Africa .
ฉันไม่เคยไปอาฟริกา
towards มุ่งไปยัง They walk towards the castle.
พวกเขาเดินมุ่งไปยังปราสาท
under อยู่ใต้ The cat is under the table.
แมวอยู่ใต้โต๊ะ
up จากด้านล่างสู่ด้านบน, ขึ้นไปบน He went up the hill.
เขาขึ้นไปบนเขา


hw-Question Tag: กริยาวิเศษณ์บอกระดับ


Question Tag: กริยาวิเศษณ์บอกระดับ

Question Tags, Tag Questions หรือ Question Tails คือ รูปของประโยคคำถามย่อ (Mini question) ที่นำมาใส่ท้ายประโยคบอกเล่า เพื่อเป็นการทิ้งท้ายประโยคให้ผู้สนทนาอีกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นต่อความคิดหรือประโยคนั้นๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว Question Tag จะนิยมใช้กันในภาษาพูด (Spoken language)มากกว่าภาษาเขียน (Written language)

โครงสร้างของ Question Tags

Statement (ประโยคหลัก)
Tags/Tails (ส่วนต่อท้าย หรือ หาง)
Positive Statement (+),
Negative Tag (-)?
Negative Statement (-),
Positive Tag (+)?
*หมายเหตุ Question Tags หากอยู่ในรูปปฏิเสธ (Negative Tag) จะต้องอยู่ในรูปย่อเท่านั้น เช่น aren’t (are not/am not), don’t (do not) shan’t (shall not), won’t (will not) และอื่นๆ

จุดประสงค์ของการใช้ Question Tags

เพื่อแสดงความมั่นใจ (confidence) หรือ ความไม่มั่นใจ (lack of confidence), ความสุภาพ (politeness), การเน้นย้ำ (emphasis), การประชดประชัน (irony) ซึ่งอาจมีความหมายคล้ายกับ “Am I right?” หรือ “Do you agree?” นั่นเอง
หลักการใช้ Question Tags


1. เมื่อประโยคขึ้นต้นเป็นประโยคบอกเล่า เราจะต้องใช้ Question Tags ในรูปปฏิเสธ (Negative Tag)
She loves shopping, doesn’t she?
They have a lot of friends, don’t they?
2. เมื่อประโยคขึ้นต้นเป็นประโยคปฏิเสธ เราจะต้องใช้ Question Tags ในรูปบอกเล่า (Positive Tag)
He doesn’t like to cook, does he?
We don’t want to go to school, do we?
3. เมื่อประโยคหลักมีกริยาแท้ (Main verb) เป็น Verb to have ให้ใช้ Verb to do มาสร้าง Question Tags
We have a lot of friends, don’t we?
She has a beautiful smile, doesn’t she?
* หาก have ในประโยคขึ้นต้น แปลว่า “มี” อาจจะใช้ Verb to do หรือ Verb to have มาสร้างเป็น Question Tags ก็ได้
4. เราสามารถนำ Auxiliary Verbs (กริยาช่วย) มาสร้าง Question Tags ได้ เช่น can, could, may , might, will, shall, ought to, should, V. to be , etc.


We should buy a house, shouldn’t we?
You ought to do your homework, oughtn’t you?
5. ประธานใน Question Tags ต้องเป็น I/You/We/They/He/She/It เท่านั้น
Somsak loves to go to the zoo, doesn’t he?
The kids are sleeping now, aren’t they?
ยกเว้น หากประธานเป็น “there” เราสามารถนำ “there” มาใช้เป็นประธานใน Question Tag ได้ เช่น
There are a lot of kids in your house, aren’t there?
6. คำว่า need (ต้องการ) และ dare (กล้าหาญ) สามารถใช้ Question Tags ได้โดยการใช้ Verb to do มาช่วย หรือ ใช้ need และ dare เลยก็ได้
They need help, don’t they?
You dare not taste that food, dare you?
They need help, needn’t they?
You dare not taste that food, do you?
7. เมื่อประโยคเป็นรูปแบบของคำสั่ง หรือ ขอร้อง ที่อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า (Positive Statement)
สามารถใช้ Question Tags ได้ทั้งในรูปบอกเล่า (Positive Tag) หรือ รูปปฏิเสธ (Negative Statement) โดยเรามักจะใช้ can, will และ would เข้ามาช่วยสร้างประโยคในส่วนของ Question Tags


Go to sleep, will you?
Stop laughing at me, won’t you?
Help me with this, can you?
8. หากประโยคขึ้นต้นด้วย Let's (Let us) เราจะใช้ Question Tags ในรูปของ “, shall we?” และหากประโยคขึ้นต้นเป็น Let + object+V.1 เราจะใช้ Question Tags ในรูปของ “, will you?” เช่น

Let’s go to the beach, shall we?
Let him go, will you?
9. หากประธานเป็น everyone, everybody, everything, no one, nobody, anybody, neither ให้เราใช้ theyในส่วนของ Question Tags

Everyone is smiling at you, aren’t they?
None of the students went to the school yesterday, did they?
10. หากประโยคประกอบด้วยคำที่มีความหมายเชิงปฏิเสธ (Negative meaning) เช่น seldom (ไม่ใคร่จะ), rarely (ไม่ใคร่จะ), scarcely (แทบจะไม่), hardly (เกือบไม่), barely (เกือบจะไม่) Question Tags จะต้องอยู่ในรูปของ Positive tags เท่านั้น


She scarcely seems to care, does she?
He rarely comes here, does he?
- I seldom got asleep, did I?
Few students can solve the problems, can they?
- They hardly spoke to anyone, did they?


11. หากประโยคเป็นประโยคซับซ้อน (complex) เรามักจะใช้ Verb ในประโยคหลัก (Main Clause) ใน Question Tags ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการเน้นที่จะบอกหรือพูดถึงสิ่งใด


If I did my homework, I wouldn’t be punishedwould I?
He said he would talk to her, didn’t he?
I think we should go nowshouldn’t we?
วิธีการตอบประโยค Question Tags

เรามักใช้ yes หรือ no เข้ามาช่วยในการตอบ แล้วตามด้วย Subject (ประธาน) และ Auxiliary Verbs (กริยาช่วย) เช่น
She is beautiful, isn’t she?
Yes, she is. / No, she isn’t.
They didn’t study for the exam, did they?
Yes, they did. / No, they didn’t.
การออกเสียง
เราสามารถเปลี่ยนความหมายของประโยค Question Tags ได้โดยการ ขึ้นเสียงสูง หรือ ลงเสียงต่ำ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว หากเรา…
ขึ้นเสียงที่ท้ายประโยค จะ เปรียบเสมือน เรากำลังตั้งคำถามกับผู้สนทนาอีกฝ่ายด้วยความไม่แน่ใจ หรือ ต้องการถามความเห็นที่แท้จริงของผู้สนทนาอีกฝ่าย
ลงเสียงต่ำที่ท้ายประโยค จะ เปรียบเสมือน เราต้องการให้ผู้สนทนาอีกฝ่ายนั้นเห็นด้วยกับสิ่งที่เราพูด

hw-Pronouns ( คำสรรพนาม )

Pronouns  ( คำสรรพนาม )
Types (ชนิดของคำสรรพนาม)

Pronoun ( คำสรรพนาม )  คือคำที่ใช้แทนคำนามหรือคำเสมอนาม ( nouns- equivalent ) เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงซ้ำซาก หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูด ผู้ฟัง   หรือแทนสิ่งของที่ยังไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร   คำสรรพนาม  (pronouns ) แยกออกเป็น  7 ชนิด คือ
  • Personal Pronoun ( บุรุษสรรพนาม )  เช่น I, you, we, he , she ,it, they
  • Possessive Pronoun ( สรรพนามเจ้าของ ) เช่น mine, yours, his, hers, its,theirs, ours
  • Reflexive Pronouns ( สรรพนามตนเอง ) เป็นคำที่มี - self ลงท้าย  เช่น myself, yourself,ourselves
  • Definite Pronoun ( หรือ Demonstrative Pronouns สรรพนามเจาะจง )  เช่น  this, that, these, those, one, such, the same
  • Indefinite Pronoun ( สรรพนามไม่เจาะจง ) เช่น  all, some, any, somebody, something, someone
  • Interrogative Pronoun ( สรรพนามคำถาม ) เช่น Who, Which, What
  • Relative pronoun ( สรรพนามเชื่อมความ ) เช่น  who, which, that
1.Personal Pronouns ( บุรุษสรรพนาม )  คือสรรพนามที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งของในการพูดสนทนา มี 3 บุรุษคือ
บุรุษที่ 1ได้แก่ตัวผู้พูดI, we
บุรุษที่ 2ได้แก่ผู้ฟัง  you
บุรุษที่ 3ได้แก่ผู้ ที่พูดถึง สิ่งที่พูดถึง he, she. it , they
รูปที่สัมพันธ์กันของคำสรรพนาม
รูปประธาน 
รูปกรรม
Possessive Form
Reflexive Pronoun
Adjective
Pronoun
 I
 me
my
 mine
 myself
we
us
our
ours
ourselves
you
you
your
yours
yourself
he
him
his
his
himself
she
her
her
hers
herself
it
it
its
its
itself
they
them
their
theirs
themselves
เช่น
I saw a boy on the bus. He seemed to recognize me.
ฉันเจอเด็กคนหนึ่งบนรถประจำทาง เขาดูเหมือนจะจำฉันได้  ( He ในประโยคที่สองแทน a boy และ me แทน I  ในประโยคที่หนึ่ง )
My friend and her brother like to swim. They swim whenever they can.
เพื่อนฉันและน้องชายของเธอชอบว่ายน้ำ พวกเขาไปว่ายน้ำทุกครั้งที่มีโอกาส (  they ในประโยคที่สอง แทน My friend และ her brother ในประโยคที่ 1 )
การใช้ Personal Pronouns ที่ทำหน้าที่เป็นประธานและเป็นกรรมมีหลักดังนี้Personal Pronoun ที่ตามหลังคำกริยาหรือตามหลังบุพบท ( preposition ) ต้องใช้ในรูปกรรม เช่น
Please tell him what you want.   โปรดบอกเขาถึงสิ่งที่คุณต้องการ  ( ตามหลังดำกริยา tell )
Mr. Wilson talked with him about the project.
คุณวิลสัน พูดกับเขาเกี่ยวกับโครงการ ( ตามหลังบุพบท with )
หมายเหตุ        ถ้ากริยาเป็น verb to be สรรพนามที่ตามหลังจะใช้เป็นประธานหรือเป็นกรรม ให้พิจารณาดูว่า สรรพนามใน ประโยคนั้นอยู่ในรูปผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำ เช่น
It was she who came here yesterday.
เธอคนนึ้ ที่มาเมื่อวานนี้  ( ใช้ she เพราะเป็นผู้กระทำ )
It was her whom you met at the party last night.
เธอคนนี้ที่คุณพบที่งานเลี้ยงเมื่อคืนนี้ (ใช้ her เพราะเป็นกรรมของ   you met )
2. Possessive Pronouns ( สรรพนามเจ้าของ )  คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามเมื่อแสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่คำต่อไปนี้      mine,ours, yours, his, hers,its,theirs 
The smallest gift is mine. ของขวัญชิ้นที่เล็กที่สุดเป็นของฉัน
This is yours. อันนี้ของคุณ
His is on the kitchen counter. ของเขาอยู่บนเคาน์เตอร์ในครัว
Theirs will be delivered tomorrow. ของพวกเขาจะเอามาส่งพรุ่งนี้
Ours is the green one on the table 
ของพวกเราคืออันสีเขียวที่อยู่บนโต๊ะ
possessive pronouns มึความหมายเหมือน    possessive adjectives แต่หลักการใช้ต่างกัน
This is my book.
นี่คือหนังสือของฉัน ( my ในประโยคนี้เป็น possessive adjective ขยาย book )
This book is mine
หนังสือนี้เป็นของฉัน (  mine ในประโยคนี้เป็น possessive pronoun  ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ ( complement)  ของคำกริยา is )
3. Reflexive Pronouns ( สรรพนามตนเอง ) คือสรรพนามที่แสดงตนเอง แสดงการเน้น ย้ำให้เห็นชัดเจน มักเรียกว่า -self form of pronoun  ได้แก่
    myself. yourself, yourselves, himself, herself, ourselves. themselves, itself  มีหลักการใช้ดังน
ี้
  • ใช้เพื่อเน้นประธานให้เห็นว่าเป็นผู้กระทำการนั้นๆ ให้วางไว้หลังประธานนั้น  ถ้าต้องการเน้นกรรม (object ) ให้วางหลังกรรม เช่น
    She herself doesn't think  she'll get the job.
    The film itself wasn't very good but I like the music.
    I spoke to Mr.Wilson himself.
  • วางหลังคำกริยา เมื่อกริยาของประโยคเป็นกริยาที่ทำต่อตัวประธานเอง 
    They blamed themselves for the accident.
    พวกเขาตำหนิตนเองในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ( ตามหลังกริยา blamed )
    You are not yourseltoday.
    วันนี้คุณไม่เป็นตัวของคุณเอง ( ตามหลังกริยา are )
    I don't
     want you to pay for me. I'll pay for myself
    ฉันไม่อยากให้คุณเป็นคนจ่ายเงินให้ ฉันจะจ่ายของฉันเอง
    Julia had a great holiday. She enjoyed herself very much.
    จูเลียมีวันหยุดที่ดี เธอสนุกมาก
    George cut himself while he was shaving this morning.

    จอร์จทำมีดบาดตัวเองขณะทีโกนหนวดเมื่อเช้านี้
หมายเหตุ  ปกติ จะใช้  wash/shave/dress โดยไม่มี myself
  • เมื่อต้องการจะเน้นว่า ประธานเป็นผู้ทำกิจกรรมนั้นเอง
    Who repaired your bicycle for you? Nobody, I repaired it myself.ใครซ่อมรถจักรยานให้คุณ. ไม่มีใครทำให้ฉันซ่อมเอง
    I'm not going to do it for you. You can do it yourself.

    ฉันจะไม่ทำ( อะไรสักอย่างที่รู้กันอยู่ ) ให้นะ คุณต้องทำเอง
    By myself หมายถึงคนเดียว มีความหมายเหมือน  on my own  เช่นเดียวกับคำต่อไปนี้
    on ( my/your/his/ her/ its/our/their own     มีความหมายเหมือนกับ
    by ( myself/yourself ( singular) /himself/ herself/ itself/
     ourselves/ yourselves(plural)/ themselves )
    เช่น
    I like living on my own/by myself. ฉันชอบใช้ชีวิตอยู่คนเ้ดียว
    Did you go on holiday on your own/by yourself? เธอไปเที่ยววันหยุดคนเดียวหรือเปล่า
    Learner drivers are not  allowed to drive on their own/ by themselves.
    ผู้ที่เรียนขับรถไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถด้วยตัวเองคนเดียว
    Jack was sitting on his own/by himself in a corner of the cafe.
    แจ๊คนั่งอยู่คนเดียวทีีมุมห้องในคาเฟ
4. Definite Pronouns หรือ Demonstrative Pronouns  คือสรรพนามที่บ่งชี้ชัดเจนว่าใช้แทนสิ่งใด เช่น
 this, that, these, those, one, ones, such, the same, the former, the latter
That is incredible!    นั่นเหลือเชื่อจริงๆ  (อ้างถึงสิ่งที่เห็น)
I will never forget this.   ฉันจะไม่ลืมเรื่องนี้เลย (อ้างถึงประสบการณ์เมื่อเร็วๆนี้)
Such is my belief.  นั่นเป็นสิ่งที่ฉันเชื่อ (อ้างถึงสิ่งที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ )
Grace and Jane ar good girls. The former is more beautiful than the latter.
  เกรซและเจนเป็นเด็กดีทั้งคู่ แต่คนแรก (เกรซ)จะสวยกว่าคนหลัง (เจน)
5.Indefinite Pronouns ( สรรพนามไม่เจาะจง ) หมายถึงสรรพนามที่ใช้แทนนามได้ทั่วไป มิได้ชี้เฉพาะเจาะจงว่าแทนคนนั้น คนนี้ เช่น
everyoneeverybodyeverythingsomeeach
someonesomebodyallanymany
anyoneanybodyanythingeitherneither
no onenobodynothingnoneone
moremostenoughfewfewer
littleseveralmoremuchless
Everybody loves somebody. คนทุกคนย่อมมีความรักกับใครสักคน
Is there anyone here by the name of Smith? มีใครที่นีชื่อสมิธบ้าง
One should always look both ways before crossing the street. ใครก็ตามควรจะมองทั้งสองด้านก่อนข้ามถนน
Nobody will believe him. จะไม่มีใครเชื่อเขา
Little is expected. มีการคาดหวังไว้น้อยมาก
We, you, they ซึ่งปกติเป็น personal pronoun จะนำมาใช้เป็น indefinite pronoun เมื่อไม่เจาะจง  โดยมากใช้ในคำบรรยาย คำปราศัย เช่น
We should prepare ourselves to deal with any emergency. เรา ( โดยทั่วไป) ควรจะเตรียมพร้อมไว้เสมอสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน)
You sometimes don't know what to say in such a situation. บางครั้งพวกคุณก็ไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรในสถานการณ์เช่นนั้น.
6. Interrogative Pronouns ( สรรพนามคำถาม )  เป็นสรรพนามที่แทนนามสำหรับคำถาม ได้แก่  Who, Whom, What, Which  และ Whoever, Whomever,Whatever,Whichever   เช่น
Who want to see the dentist first? ใครอยากจะเข้าไปหาหมอฟันเป็นคนแรก? ( who ในที่นี้เป็นประธาน )
Whom do you think we should invite? เธอคิดว่าเราควรจะัเชิญใคร? (  whom ในที่นี้เป็นกรรม - object )
To whom do to wish to speak ? เธออยากจะพูดกับใคร? (  whom ในที่นี้เป็นกรรม - object )
What did she say?  เธอพูดว่าอะไรนะ? (  what เป็นกรรมของกริยา say )
Which is your cat ? แมวของเธอตัวไหน? ( which เป็นประธาน )
Which of these languages do you speak fluently? ภาษาไหนในบรรดาภาษาเหล่านี้ที่คุณพูดได้คล่อง? ( which เป็นกรรมของ speak )
หมายเหตุ   which และ  what  สามารถใช้เป็น  interrogative adjective   และ who, whom , which  สามารถใช้เป็น relative pronoun  ได้
7. Relative Pronouns ( สรรพนามเชื่อมความ ) คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาแล้วในประโยคข้างหน้า   และพร้อมกันนั้นก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยคทั้งสอง ให้เป็นประโยคเดียวกัน   เช่นคำต่อไปนี้  who, whom, which whose ,what, that , และ indefinite relative pronouns เช่น whoever, whomever,whichever, whatever
Children who (that) play with fire are in great danger of harm.
The book that she wrote was the best-seller
He's the man whose car was stolen last week.
She will tell you what you need to know.The coach will select whomever he pleases.
Whoever cross this line will win the race
.
You may eat whatever you  like at this restaurant.

hw-การใช้คำเชื่อม ( Conjunction )


การใช้คำเชื่อม ( Conjunction )
http://suparapim.blogspot.com/2012/09/conjunction.html



Conjunction  ถือเป็น Grammarตัวหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อ
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ว่ามันทำหน้่าที่เป็นเพียงแค่ไวยากรณ์
อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาทักษะการอ่าน
และการเขียนได้เป็นอย่างดี
และแล้ว Grammarman ก็หยิบยกเอามาเขียนอีกจนได้ ดีมั๊ยคะ
เมื่อพูดถึงตัวเชื่อมแ่น่นอนต้องนึกถึง 2 แบบ
1. การเชื่อมความ คือ การเชื่อม ประโยค กับ ประโยค
2. การเชื่อมคำ  คือ การเชื่อม ประโยคหรือคำ กับ คำ
มาพูดถึงการเชื่อมทั้ง 2 แบบกันเลย
การเลือกตัวเชื่อมมีหลายวิธีด้วยกัน อาจเลือกจากความหมายของ
ประโยค เชื่อมเพื่อลำดับเวลา และ อะไรพรรค์นั้น (มันหมายความว่า
ไงเนี่ย)
ตัวเชื่่อมประโยคที่เน้นความหมายแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น
ประโยคบอกความคล้อยตามกัน หรือ เสริมความเพิ่มเติม จะใช้
and (และ)
besides (นอกจาก)
as well as (และ , เช่นเดียวกันกับ)
furthermore (ยิ่งไปกว่านั้น)
both ... and (ทั้ง ... และ)
not only ... but also (ไม่เพียงแต่ ... แต่ยัง)
in addition (และ)
moreover (ยิ่งไปกว่านั้น)
ประโยคบอกความขัดแย้ง จะใช้
although / though , even though , even if (ถึงแม้ว่า)
however (อย่างไรก็ตาม)
but (แต่)
still (ยังคง)
yet (แต่กระนั้น)
nonetheless , nevertheless (แต่กระนั้นก็ตาม)
no matter what (ไ่ม่ว่าอะไรก็ตาม)
no matter how (ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม)
ประโยคที่ต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้
either...or (ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง) , neither...nor (ไม่ทั้งคู่)
ประโยคบอกเหตุ ใช้
because , as , since , for (เพราะว่า , เนื่องจาก)
ประโยคบอกผล ใช้
so , therefore , thus , hence , thereby , accordingly , consequently (ดังนั้น)
ประโยคบอกวัตถุประสงค์ ใช้
in order that  , so that (เพื่อที่ว่า)
พวกที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นการเชื่อมความ คือ เชื่อมประโยคกับประโยค
                   
มาดูการเชื่อม ประโยค กับ คำ หรือ กลุ่มคำ บ้าง
กลุ่มคำที่แสดงความขัดแย้ง ใช้
despite , in spite of (แม้ว่า)
กลุ่มคำที่ใช้บอกเหตุ ใช้
due to , owing to , as a result of , on account of , because of
 , thanks to (เพราะว่า , เนื่องจาก)
กลุ่มคำที่บอกตัวอย่าง ใช้
such as (เช่น)
กลุ่มคำที่ใช้บอกวัตถุประสงค์ ใช้
in order to , so as to (เพื่อที่จะ)
ในตอนนี้แค่เกริ่นนำคร่าวๆ ก่อนนะคะ ในตอนหน้าเราจะมาเจาะลึก
รายละเอียดกัน
                     

hw-Adverb (คำกริยาวิเศษณ์)

Adverb (คำกริยาวิเศษณ์)
http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/18557-00/
คำกริยาวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยาย (Modify) คำกริยา, คำคุณศัพท์ และคำกริยาวิเศษณ์ด้วยกันเอง เพื่อให้ได้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
                -  He runs quickly. = quickly บอกอาการของประธาน He ขยายคำกริยาคือ runs
                -  She is very beautiful. = very บอกปริมาณหรือระดับขยายคำคุณศัพท์คือ beautiful
                -  He speaks too fast. = too บอกปริมาณหรือระดับขยายคำกริยาวิเศษณ์คือ fast
ประเภทของคำกริยาวิเศษณ์ (Kinds of Adverb)
โดยปกติแล้วคำกริยาวิเศษณ์ แบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. Simple Adverbs = คำกริยาวิเศษณ์ทั่วไป
2. Interrogative Adverbs = คำกริยาวิเศษณ์คำถาม
3. Relative(Conjunction) Adverbs = คำกริยาวิเศษณ์เชื่อมประโยค
คำกริยาวิเศษณ์ส่วนมากจัดอยู่ในประเภท simple adverbs ส่วนประเภท interrogative, relative adverbs นั้นมีไม่มาก มีรายละเอียดดังนี้
1. Simple Adverb คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่มีหน้าที่ขยายคำกริยา, คำคุณศัพท์และกริยาวิเศษณ์ด้วยกันเอง แบ่งออกได้ดังนี้
1. Adverb of time คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกเกี่ยวกับเวลา ทำหน้าที่ขยายคำกริยาเพื่อบอกเกี่ยวกับเวลา ใช้ตอบคำถามคำว่า
"When" เช่น
             - I will do my homework tomorrow. = ฉันจะทำการบ้านของฉันวันพรุ่งนี้
             - He came very late. Let's start now. = เขามาช้ามาก, เราเริ่มทำงานตอนนี้เลยดีกว่า
Adverb of Time ที่ใช้บ่อย ๆ ได้แก่
                often, afterward = ภายหลัง                    already = เรียบร้อย 
                before = ก่อน                                       immediately = ทันที 
                late, lately = ช้า, เร็ว ๆ นี้                        once = ครั้งหนึ่ง 
                presently = ในเร็ว ๆ นี้(ในอนาคต)                shortly = ไม่นาน
                soon = ในไม่ช้านี้                                   still = ยัง 
                when = เมื่อ                                          yet = ยัง 
2. Adverb of Frequency คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกความสม่ำเสมอ, ความถี่หรือจำนวนครั้งของการกระทำ ได้แก่ often, again, sometimes, never, ever, weekly, every morning, monthly, etc. จำใช้ตอบคำถามคำว่า How often? เช่น
           -  He always does his work well. = เขาผู้ชายทำงานได้ดีเสมอ 
           -  We have never seen now. = พวกเราไม่เคยเห็นหิมะเลย
           -  I sometimes go shopping. = ฉันไปจับจ่ายซื้อของเป็นบางครั้งบางคราว
หมายเหตุ คำว่า ever (เคย) ไม่นิยมใช้ในประโยคบอกเล่า มักใช้ในประโยคคำถามหรือเงื่อนไข (If-Sentence) เช่น
- Do you ever see Bush now? = คุณเคยพบกับคุณบุชบ้างหรือเปล่า?
3. Adverb of Place คือ คำกริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นที่ใด ได้แก่คำว่า near, out, inside, outside, upstairs, downstairs, here, etc. ใช้ตอบคำถามคำว่า "Where" เช่น
            - My boss went outsideBangkok. = เจ้านายของฉันได้ออกจากกรุงเทพฯ แล้วจ้า
            - He lives here. I want to go there. = เขาอาศัยอยู่ที่นี่ , ฉันต้องการจะไปที่นั่น
3. Adverb of Manner คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกกริยาอาการหรือคุณลักษณะที่แสดงออกมา ได้แก่คำว่า well, fast,
hard, late, probably, slowly, certainly, quietly, carefully, etc. โดยใช้ตอบคำถามว่า "How" เช่น
            - Somrak fights bravely. = สมรักษ์ต่อสู้อย่างกล้าหาญ
             - She speaks English well. = เขาผู้หญิงพูดภาษาอังกฤษเก่งมาก ๆ
คำกริยาบอกกริยาอาการ (Adverb of Manner) ยังแบ่งย่อยออกได้อีก ดังนี้
     1. Adverb of Degree, Quality คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกลักษณะอาการนั้นอยู่ในระดับหรือคุณภาพใด เช่น
             - This coffee is very good. = กาแฟนี้รสชาดดีมาก (very เป็น adverb ขยายคำคุณศัพท์คือ good
เพื่อบอกระดับของ good
             - It has been a long journey but we are nearly there now. = มันเป็นการเดินทางที่ยาวนานทีเดียว
แต่ตอนนี้พวกเราใกล้จะถึงที่หมายแล้ว (nearly เป็น adverb ที่ขยาย adverb คำว่า there)
Adverb of Degree ที่ใช้บ่อย ๆ ได้แก่
            very = มาก ๆ, อย่างยิ่ง                                                              quite = โดยสมบูรณ์, ทีเดียว, จริง ๆ
           too = เพิ่มเติม, ด้วยเหมือนกัน                                                   nearly = เกือบทั้งหมด, ประมาณ
           completely = สำเร็จ, ครบ, สมบูรณ์                                     absolutely = ทั้งหมด, โดยสมบูรณ์
          deeply = อย่างมาก, อย่างลึกซึ้ง                                    distinctly = ชัดเจน, แจ่มแจ้ง
          enormous = ใหญ่โต                                                entirely = สมบูรณ์, ทั้งสิ้น
          greatly = อย่างยิ่งใหญ่                                                            equally = เท่ากัน, เสมอกัน
          exactly = อย่างแน่นอน, อย่างแน่ชัด                                      extremely = อย่างสุดยอด
          just = อย่างเหมาะ, พอดี                                             much = มาก
     2. Adverb of Quantity คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกปริมาณของการกระทำว่ามากน้อยหรือบ่อยแค่ไหน เช่น
                -  He worked little. = เขาทำงานไม่มาก
                -  She worked much = หล่อนทำงานหนัก
                - We won the prize twice = พวกเราได้รับรางวัลสองครั้ง
      3. Adverb of Reason คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่บอกถึงเหตุผลในการกระทำนั้น ๆ เช่น
                - Consequently, he refused to go. = เพราะฉะนั้นเขาจึงได้ปฏิเสธที่จะไปด้วย
                - Therefore, they decided to boycott the meeting. = เพราะฉะนั้นพวกเขาจึุงตัดสินใจไม่เข้าร่วมประชุม
                - Hence, I am unable to help you. = ดังนั้น ผมจึงไม่สามารถช่วยคุณได้
     4. Adverb of Affirmation คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่แสดงการยืนยันหรือการปฏิเสธ เช่น
                - She is certainly right. I am not going. = หล่อนพูดถูกจริงๆ ผมจะไม่ไป
                - He is a fool indeed. = เขาช่างเป็นคนโง่จริง ๆ
                - You are surely misunderstood. I will probably go. = คุณเข้าใจผิดอย่างแน่นอน บางทีผมจะไป
2. Interrogative Adverb คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่มีหน้าทำหน้าที่เป็นคำถาม ซึ่งอาจเป็นคำเดี่ยว ๆ หรือเป็นคำผสม มักจะวางไว้
ต้นประโยคเสมอ แบ่งออกได้ 6 ประเภท คือ
         1. บอกเวลา (Time) ได้แก่คำว่า "When" (เมื่อไหร่), "How long" (นานเท่าไหร่) เช่น
                    -  When will you come back? = คุณจะกลับมาเมื่อไหร่?
                    -   How long have you been in Bangkok? = คุณมาอยู่ที่กรุงเทพฯ นานเท่าไหร่แล้วจ๊ะ
         2. บอกสถานที่,ตำแหน่ง (Place) ได้แก่คำว่า "Where" เช่น
                    -  Where are you come from? = คุณมาจากไหน?
         3. บอกจำนวน (Number) ได้แก่คำว่า How many (มากเท่าไหร่), How often (บ่อยครั้งเท่าไหร่) เช่น
                    -   How many pens do you have? = คุณมีปากกามากเท่าไหร่?
                    -   How often does he go to America? = เขาเดินทางไปอเมริกาบ่อยแค่ไหน?
         4. บอกกริยาอาการ (Manner) ได้แก่ คำว่า How (อย่างไร) เช่น
                   -  How are you today? = วันนี้คุณสบายดีหรือเปล่า?
        5. บอกปริมาณ (Quantity) ได้แก่ คำว่า How much (มากเท่าไหร่) เช่น
                   -  How much do you eat? = คุณรับประทานมากเท่าไหร่?
        6. บอกเหตุผล (Reason) ได้แก่ คำว่า Why (ทำไม) เช่น
                   -  Why do you late? = ทำไมคุณถึงมาสายจ๊ะ?
 3. Relative, Conjunction Adverbs คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่มีหน้าที่ขยายและเชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน ได้แก่ คำว่า When, Where, While, Whenever, How, etc. เช่น
                  -  This is the reason why I left. = นี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมฉันจึงต้องไป
                  -  I don't know the place where he lives? = ฉันไม่ทราบว่าเขาอาศัยอยู่ที่ไหน?
การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ (Comparison of Adverbs)
        การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์เพื่อแสดงให้ทราบว่าลักษณะอาการกริยาของบุคคลนั้นกับอีกบุคคลหนึ่งมีมากน้อยกว่ากันหรือไม่
การเปรียบเทียบแบ่งออกได้ 3 ขั้น คือ ขั้นปกติ (Positive Degree), ขั้นกว่า(ComparativeDegree), ขั้นสูงสุด (Superlative Degree) เช่น
               1. ขั้นปกติ (Positive Degree) เป็นการเปรียบเทียบเพื่อแสดงความเท่าเทียมกันใช้ as adv as เช่น
                        -  He speaks English as well as Helen. = เขาพูดภาษาอังกฤษเก่งเท่ากับเฮเลน
                        -  She runs as fast as I do. = หล่อนวิ่งเร็วพอ ๆ กับที่ฉัน
การเปรียบเทียบความไม่เท่ากันใช้ not as adv as หรือ not so adv as เช่น
                       -  Tom does not work as fast as Jenny. = ทอมไม่ได้ทำงานหนักเหมือนกับเจนนี่สักหน่อย
                       - He does not speak English so clearly as I (do). = เขาพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ชัดเจนเหมือนกับฉันเลย
               2. ขั้นกว่า (Comparative Degree) เป็นการเปรียบเทียบเฉพาะ 2 คน หรือ 2 สิ่ง จะต้องมี than ตามหลังเสมอ เช่น
                       -  He speaks English more fluently than his friends.
                       -  Mary runs faster than Jane.
การเปรียบเทียบขั้นกว่านี้ อาจใช้ much ขยาย adverb ให้ชัดเจนเพิ่มขึ้นก็ได้ เช่น
                       -  My teacher wrote essay much more quickly than students.
               3. ขั้นสูงสุด (Superlative Degree) เป็นการเปรียบเทียบตั้งแต่ 3 คนหรือ 3 สิ่งขึ้นไป จะใช้ the นำหน้า adverb หรืออาจจะไม่ใช้ the นำหน้าก็ได้ เช่น
                          -  He runs fastest of all.
รูปของคำกริยาวิเศษณ์ (Forms of Adverbs)
               1. เติม -ly ข้างท้ายคำคุณศัพท์ (adjective) เช่น
                        -  slow   =   slowly
                        -  quick  =   quickly
หมายเหตุ กลุ่มคำต่อไปนี้ถึงแม้ว่าจะเติม -ly แต่เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) คือ friendly, lonely, lovely, likely เป็นต้น
               2.  คำ adjectives ที่ลงท้ายด้วย -y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม -ly เช่น
                        -  easy = easily                         -  happy = happily
                        -  angry = angrily                     -  hungry = hungrily 
                        -  day = daily                            -  noisy = noisily
                3. คำ adjective ที่ลงท้ายด้วย -e ให้เติม -ly เช่น
                        -  extreme = extremely              -  sincere = sincerely
ยกเว้น คำดังต่อไปนี้ให้ตัด -e ออกแล้วเติม -ly เช่น
                        -  true = truly
               4.  คำ adjectives ที่ลงท้ายด้วย -le ให้ตัด e ออกแล้วเติม -y เช่น
                        -  sensible = sensibly                  - simple  =  simply
               5. คำ adjectives บางคำเมื่อเป็น adverbs จะเปลี่ยนรูปไป เช่น
                        -  good - well
               6. คำ adjectives ที่ลงท้ายด้วย -ic ให้เติม -ally เช่น กลับด้านหลัก
                       -  ironic = ironically                    -  terrific = terrifically กลับด้านบน