วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติจุฬาฯ

ประวัติจุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ [ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากลในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ (ค.ศ. ๑๙๔๐) ดังนั้น พ.ศ. กับ ค.ศ.ก่อนหน้านี้จึงเหลื่อมกันอยู่ ๑ ปี] และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ทั้งนี้เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลจากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕ ต่อ มาทั้งภาคราชการและเอกชนต้องการบุคลากรทำงานในสาขาวิชาต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโช บายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ"ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดม ศึกษาของชาวสยาม"พอที่จะช่วยให้กิจการปกครองท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยดำเนิน ไปได้ดีในระดับหนึ่งแล้วสมควรขยายการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของ กระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า "โรงเรียน ข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เมื่อ ๑ มกราคม ๒๔๕๓
ต่อมาทรงเห็นว่าควรขยายกิจการให้กว้างขวางตามพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นพระ บรมราชานุสาวรีย์อันยิ่งใหญ่และถาวรในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชพระองค์จึงได้ พระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุ สาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าจำนวนเก้าแสนกว่าบาทให้ใช้เพื่อสร้างอาคารเรียนและ เป็นตึกบัญชาการบนที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน ๑,๓๐๙ ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน และเงินที่เหลือจากการสร้างก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เพื่อกิจการ ของโรงเรียนต่อไปทั้งนี้ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินและ ทรงวางศิลาพระฤกษ์ในการสร้างอาคารดังกล่าวเมื่อ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๘
ในครั้งนั้นมีการเปิดสอน ๘ แผนกวิชา ได้แก่ การปกครอง กฎหมาย การฑูต การคลัง การแพทย์การช่าง การเกษตร และวิชาครู จัดการศึกษาใน ๕ โรงเรียน (คณะในปัจจุบัน) คือโรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชโรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา และโรงเรียนยันตรศึกษาตั้งที่วังใหม่หรือวังกลางทุ่ง หรือวังวินเซอร์ (เคยเป็นวังของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ)
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรย์เฉลิมพระเกียรติแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางแผ่ไพศาล และมิรู้เสื่อมสูญ
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในช่วงแรกมีการจัดการศึกษาเป็น ๔ คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๔๖๕ มีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาระดับประกาศนียบัตร และการเตรียมการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญา มีการติดต่อกับมูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์ เพื่อให้ช่วยเหลือการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ จากนั้นระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๖ - ๒๔๘๐ เริ่มรับผู้สำเร็จหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์เข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ขณะเดียว กันก็ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรและรับนักเรียนผู้จบประโยคมัธยมบริบูรณ์เข้า เรียนอีก ๔ คณะ และในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๑ - ๒๔๙๐ เริ่มเน้นการเรียนการสอนอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการจัดเตรียมมหาวิทยาลัยคือนักเรียนจะต้องเลือกเรียนตามคณะต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนทำให้มีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยขึ้น
หลังจากนั้น ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๕๐๓ เป็นระยะเวลาของการขยายการจัดการศึกษาออกไปในศาสตร์และศิลปวิทยาการต่างๆ โดยเน้นระดับปริญญาตรีเป็นหลัก และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาของการขยายการศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้น และ เริ่มพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย การอนุรักษ์และสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมและการบริการทางวิชาการให้แก่สังคม มีการจัดตั้งสถาบันวิจัยสถาบันบริการ และศูนย์ เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและพัฒนาตนเอง ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ทุกวิถีทางให้สมกับเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยมหาราชของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป

พี่มาก..พระโขนง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พี่มาก..พระโขนง

ใบปิดภาพยนตร์
กำกับโดยบรรจง ปิสัญธนะกุล
อำนวยการสร้างโดยจิระ มะลิกุล
เช่นชนนี สุนทรศารทูล
สุวิมล เตชะสุปินัน
ปรานต์ ธาดาวีรวัตร
วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์
เขียนโดยนนตรา คุ้งวงษ์
บรรจง ปิสัญธนะกุล
ฉันทวิชช์ ธนะเสวี
นำแสดงโดยมาริโอ้ เมาเร่อ
ดาวิกา โฮร์เน่
พงศธร จงวิลาส
ณัฏฐพงษ์ ชาติพงศ์
อัฒรุต คงราศรี
กันตพัฒน์ สีดา
เพลงประกอบ
ภาพยนตร์โดย
ชาติชาย พงศ์ประภาพันธุ์
หัวลำโพงริดดิม
กำกับภาพโดยนฤพล โชคคณาพิทักษ์
ตัดต่อโดยธรรมรัตน์ สุเมธศุภโชค
ค่ายจีทีเอช
จอกว้างฟิล์ม
จัดจำหน่ายโดยจีเอ็มเอ็ม ไท หับ
ฉาย28 มีนาคม พ.ศ. 2556 (ไทย)
สำหรับประเทศอื่น ดูในบทความ
ประเทศไทย
ภาษาไทย
งบประมาณ65 ล้านบาท
รายได้523.98 ล้านบาท
(ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2556 และยังอยู่ในโปรแกรมฉาย)[1]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน
พี่มาก..พระโขนง เป็นภาพยนตร์แนวรักใคร่ สยองขวัญ และตลก ซึ่งดัดแปลงจากเรื่องแม่นากพระโขนง ผีพื้นบ้านไทย กำกับโดย บรรจง ปิสัญธนะกุล ผู้มีชื่อเสียงจากผลงาน สี่แพร่ง ตอน คนกลาง, ห้าแพร่ง ตอน คนกอง และ กวน มึน โฮ กับทั้งนำแสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ เป็นพี่มาก กับดาวิกา โฮร์เน่ เป็นแม่นาก พร้อมด้วยณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์พงศธร จงวิลาส อัฒรุต คงราศรี และกันตพัฒน์ สีดา ซึ่งเคยร่วมแสดงใน สี่แพร่ง และ ห้าแพร่ง มาแล้ว
ภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มฉายตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2556

เนื้อหา

  [แสดง

[แก้]
การผลิต

พี่มาก..พระโขนง ใช้ทุนในการสร้าง 65 ล้านบาท[2] ในการผลิตใช้งบประมาณ 30 ล้านกว่าบาท โดยเฉพาะที่ต้องสร้างเรือนไทย 2 หลังที่สร้างขึ้นใหม่ รวมถึงในฉากอื่นที่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่หมด เช่น ฉากงานวัด ฉากสงคราม ขณะที่ค่าโฆษณาราว 20 ล้านบาทขึ้นไป[3]
บรรจง ปิสัญธนะกูล ผู้กำกับภาพยนตร์ มีแนวคิดที่จะนำนักแสดงจากผลงานที่เขาเคยกำกับ ที่แสดงโดย ฟรอย เผือกเชน บอมบ์ จาก “คนกลาง” ใน สี่แพร่ง และ “คนกอง” ในห้าแพร่ง มาร่วมแสดงในผลงานภาพยนตร์ให้น่าสนใจ เต๋อ ฉันทวิชช์ ที่มาร่วมเขียนบท เสนอแนวคิดให้ทำเป็นนางนาก บรรจงก็เห็นด้วย เพราะคิดว่าน่าสนใจ คนดูคงประหลาดใจ โดยเขาจะนำตำนานแม่นากมาทำเป็นหนังย้อนยุคในมุมมองใหม่ ตีความใหม่ และสร้างภาพยนตร์ย้อนยุคที่ไม่จำเป็นต้องถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ ผนวกกับเสื้อผ้า ทรงผมออกแนวแฟชั่น และบรรยากาศ อารมณ์ ให้รู้สึก สนุก ตลก ปนสยอง
ตัวละครพี่มาก บรรจงเลือกมาริโอ้ เพราะเคยได้ร่วมงานโฆษณาด้วยกันมาก่อน และเห็นว่ามาริโอ้เล่นได้หลากหลาย และเห็นว่าคนส่วนใหญ่เมื่อคิดถึงพี่มาก จะนึกถึงผู้ชายหน้าไทย ๆ หากเป็นมาริโอ้ คงแปลกดี และเมื่ออยู่กับตัวละคร 4 คนข้างต้นคงสนุกดี
บทภาพยนตร์เรื่องนี้ ฉันทวิชช์ ร่วมเขียนกับบรรจง และนนตรา คุ้มวงศ์ ใช้เวลาเขียนบทประมาณปีครึ่ง ได้แนวคิดแรกจากบรรจงเรื่องการตีความใหม่ ในการนำเสนอในมุมมองของพี่มาก และได้เพื่อน 4 คนมาสร้างสีสัน ก่อนเขียนบทฉันทวิชช์ได้อธิษฐาน ขอพรย่านาคว่า บทที่เขียนเราต้องการสร้างความสุขให้กับผู้ชม ไม่ได้ต้องการลบหลู่[4]
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำที่ริมคลองเขิน จังหวัดสมุทรสงคราม โดยสร้างเรือนไทยเพื่อการถ่ายทำโดยเฉพาะ[5] บ้านของมากและนากได้รับแรงบันดาลใจจากภาพถ่ายโบราณ และบ้านเพื่อนพี่มาก ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ในเนื้อเรื่องบ้านมากและนากอยู่บริเวณหัวโค้ง[6] ฉากงานวัด ฝ่ายศิลป์ได้สร้างฉากบริเวณลานโล่ง ๆ ที่จังหวัดสิงห์บุรี[7]

[แก้]
นักแสดง

[แก้]
เพลงและดนตรีประกอบภาพยนตร์

เพลงประกอบของภาพยนตร์ นำเพลง "อยากหยุดเวลา" ของศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์ มาขับร้องใหม่โดย อีฟ ปานเจริญ และเพลง "ขอมือเธอหน่อย" ต้นฉบับของ นันทิดา แก้วบัวสาย ขับร้องโดย มาริโอ้ เมาเร่อ, กันตพัฒน์ สีดา, ณัฏฐพงษ์ ชาติพงศ์, อัฒรุต คงราศรี และพงศธร จงวิลาส และดนตรีประกอบจากหัวลำโพงริดดิม ที่เคยได้รับรางวัลสาขาการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์มาแล้ว ร่วมกับชาติชาย พงศ์ประภาพันธุ์ นักประพันธ์เพลงที่เคยประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์นางนาก ที่วิสูตร พูลวรลักษณ์ ผู้บริหารจีทีเอชปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสร้างในนามไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์[8]

[แก้]
การตอบรับ

[แก้]
การตลาดและรายได้

งานแถลงข่าว พี่มาก..พระโขนง
ด้านการตลาด วิสูตร พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหารค่ายจีทีเอช อธิบายการตลาดของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ การทำให้คนดูเข้าใจอย่างชัดเจนว่า "คอนเซ็ปต์" กับ "หน้าหนัง" เป็นอย่างไร และจะพบอะไรกับ "เนื้อใน" บ้าง[9] มีการระดมประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ หรือการตลาดรอบด้าน และการตลาดแบบปากต่อปาก [10][11] ที่ทำให้เกิดการแบ่งปันในโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น มีการออกคลิปวิดีโอ "ฮาร์เลมเชก" ก่อนภาพยนตร์ฉาย ต่อมาหลังภาพยนตร์ฉาย 1 อาทิตย์ ออกคลิปวิดีโอสอนเต้นท่า "เพลงกองพัน"[12] และเมื่อภาพยนตร์มีรายได้ใกล้ 200 ล้านบาท นักแสดงเต้น "ควีโยมี" ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนั้น ในงานแถลงข่าว[13]
พี่มาก..พระโขนง ออกฉายรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2556 ณ พารากอนซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน และฉายรอบทั่วไปในตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2556 วันแรกทำรายได้ 21.20 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์ไทยที่สร้างรายได้เมื่อเปิดตัวในวันที่ไม่ใช่วันหยุดสูงเป็นอันดับสองรองจาก สุริโยไท นอกจากนี้ ยังสร้างรายได้ในวันจันทร์ที่ไม่ใช่วันหยุดสูงเป็นประวัติการณ์[14]
เมื่อสิ้นสัปดาห์แรก (สี่วันแรกหลังจากฉายรอบทั่วไป) ติดอันดับ 1 ของบอกซ์ออฟฟิสประเทศไทย[15] มีรายได้ 106.3 ล้านบาท[16] ในสัปดาห์ที่ 2 ของการเข้าฉาย ยังคงครองอันดับ 1 ของบอกซ์ออฟฟิสประเทศไทย[17] แม้มีภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เข้า อย่างภาพยนตร์เรื่อง คู่กรรม การออกฉายของภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ วิสูตร พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท จีทีเอช จำกัด มองว่า ไม่ใช่การแย่งรายได้ แต่เป็นการกระตุ้นอุตสาหกรรม[18] เมื่อจบปลายสุดสัปดาห์ที่ 2 (เข้าฉายได้ 11 วัน) ทำรายได้สะสม 261 ล้านบาท[19] พี่มาก..พระโขนง มีรายได้สะสมมากกว่า ATM เออรัก เออเร่อ (152.5 ล้านบาท) จึงนับเป็นภาพยนตร์ที่สร้างรายได้มากที่สุดของจีทีเอช และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้ในประเทศสูงสุด[20] [21]
ในปลายสุดสัปดาห์ที่ 3 ซึ่งอยู่ในช่วงวันสงกรานต์ (11-14 เมษายน) ยังคงครองอันดับ 1 บอกซ์ออฟฟิสประเทศไทยเป็นสัปดาห์ที่ 3 มีรายได้รับรวม 380.0 ล้านบาท[22] เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 4 (18-21 เมษายน) ยังคงครองอันดับ 1 บอกซ์ออฟฟิสประเทศไทยเป็นสัปดาห์ที่ 4 มีรายได้รับรวม 470.0 ล้านบาท[23]
สำหรับในต่างประเทศ พี่มาก..พระโขนง ออกฉายในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศแรก ออกฉายรอบทั่วไปวันที่ 5 เมษายน โดยฉายรอบกาล่า ณ โรงภาพยนตร์บลิทซ์เมกะเพล็กซ์ ศูนย์การค้าแกรนด์อินโดนีเซีย กรุงจาการ์ตา พร้อมกับการพบปะทีมนักแสดงและผู้กำกับ ในวันที่ 7 เมษายน บัตรถูกจองเต็มทุกใบตั้งแต่เปิดทำการจอง[24] ถัดมาคือ ฮ่องกง ออกฉายวันที่ 16 พฤษภาคม, กัมพูชา ออกฉายวันที่ 23 พฤษภาคม, มาเลเซีย ออกฉายวันที่ 6 มิถุนายน, สิงคโปร์ ออกฉายวันที่ 13 มิถุนายน, ไต้หวัน ออกฉายวันที่ 9 สิงหาคม[25]

[แก้]
คำวิจารณ์

ในด้านเสียงวิจารณ์ อำนาจ เกิดเทพจากผู้จัดการออนไลน์ กล่าวว่า หากนำโจทย์ที่ตั้งไว้ว่าจะทำหนังเรื่องนี้โดยใช้ "ตลก" นำหน้านั้นถือเป็นอะไรที่น่าสนใจไม่น้อย[26] นันทขว้าง สิรสุนทร มองเห็นจุดแข็งของ พี่มาก..พระโขนง มาจากผู้กำกับที่เป็นคนกำหนดทิศทางของหนัง ทั้งบท การแสดง การคัดเลือกนักแสดง การออกแบบการผลิต ฯลฯ ทำให้เข้าใจคนดูหนังยุคนี้อย่างลึก ซึ่งทำให้การวางจังหวะของหนัง การวางมุกต่าง ๆ น่าจะโดนใจคนดู[27] อภินันท์ บุญเรืองพะเนา มองว่าสิ่งที่ยอดเยี่ยมของภาพยนตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวของตำนานแม่นาก พระโขนง เรื่องนี้คือการกล้าที่จะริเริ่มอะไรใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนมุมมองจากตัวนากมาเป็นมาก ซึ่งผู้สร้างก็กล้าฉีกขนบตั้งแต่การตั้งชื่อเรื่องเลยทีเดียว[24]

[แก้]

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

“ใหม่-ดาวิกา” รุดหน้า รำแก้บน ศาลย่านาคหลังคุณแม่บนให้หนัง “พี่มาก..พระโขนง” ทำรายได้ 300 ล้าน

เมื่อวันพุธที่ 24 เมษายน เวลา 08.00 น. ที่ศาลย่านาค วัดมหาบุศย์ “ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่” นางเอก 500 ล้านหนัง “พี่มาก..พระโขนง” ค่าย จีทีเอช ได้มาทำพิธีรำแก้บน หน้าศาลย่านาค หลังจากที่คุณแม่ รัตนากร โฉมยงค์ ได้มาบนที่ศาลย่านาคว่า ขอให้หนังพี่มาก..พระโขนง ทำรายได้ 300 ล้าน ซึ่งวันนี้ รายได้รวม 27 วันกำลังทะยานสู่ 500 ล้านแล้ว และเช้านี้ โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกูล ผู้กำกับภาพยนตร์ ได้เดินทางมาร่วมเป็นกำลังใจให้กับนางเอกสาวด้วย โดยมีแฟนคลับ และผู้คนมายืนดูและชื่นชมเป็นจำนวนมาก
ใหม่-ดาวิกา เผยว่า “เช้านี้ใหม่นำพวงมาลัย พร้อมด้วยเชี่ยนหมาก มาไหว้ขอบคุณย่านาค และมารำแก้บน หลังจากที่คุณแม่ใหม่ได้มาบนไว้เมื่อวันที่หนังทำรายได้สู่ 200 ล้าน โดยคุณแม่มาบนว่า ถ้าหนังพี่มาก..พระโขนง ทำรายได้ 300 ล้าน จะให้ใหม่มารำแก้บน โดยที่ไม่บอกใหม่มาก่อน วันนี้พอเคลียร์คิวได้ และหนังทำรายได้สู่ 500 ล้านแล้ว ใหม่เลยมาที่วัดมหาบุศย์ มาติดต่อน้องๆ นางรำที่เป็นลูกหลานย่านาค อีก 6 คน เพื่อมารำศรีวิชัย ให้ย่านาคได้ชม”
ใหม่ กล่าวอีกว่า “วันนี้ตื่นเต้นมากค่ะ ใหม่ได้แวะมาซ้อมรำก่อนวันนึง เพื่อเตรียมความพร้อม รำยากมาก แต่ครั้งนี้ใหม่ตั้งใจรำเพื่อขอบคุณย่านาคจริงๆ ค่ะ ที่ทำให้หนังประสบความสำเร็จ รายได้มาไกลขนาดนี้ มันคือปาฏิหาริย์ ในฐานะนักแสดงใหม่ดีใจมาก นั่นหมายความว่ามีคนชอบหนังของเราเยอะมาก เป็นความภาคภูมิใจสุดๆ ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งในชีวิตของใหม่เลยค่ะ เพราะไม่รู้ว่าในชีวิตนี้จะมีงานไหนที่ประสบความสำเร็จขนาดนี้อีกหรือเปล่า ส่วนนึงเพราะเรื่องราวของย่านาคมีส่วนมากที่ทำให้หนังประสบความสำเร็จ”
ขณะที่ โต้ง-บรรจง ผู้กำกับ เผยว่า “วันนี้ดีใจมากครับที่หนังทำรายได้สู่ 500 ล้าน รายได้มาไกลกว่าที่เราคิด ผมคิดว่าปัจจัยที่ทำให้หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จ น่าจะมาจากบิ๊กไอเดียของเรื่องที่นำตำนานแม่นาค มาตีความใหม่ ผูกกับเรื่องพี่มาก และแกงค์เพื่อนพี่มากที่มีความลงตัว เมื่อวันเข้าฉาย กระแสปากต่อปากของผู้ชมที่ชื่นชอบ รวมถึงพี่ๆ สื่อมวลชนที่ช่วยกันเผยแพร่ข่าว โซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ จึงทำให้รายได้หนังแรงไม่ตกครับ”
โต้ง-บรรจง เผยว่าอีก “หนังเรื่องนี้ผมไม่ได้ไปบนขออะไรจากย่านาค แค่มาขอบคุณ แต่ผมได้ไปไหว้ขอพรที่วัดที่ภูเขาฟูจียาม่า ที่ญี่ปุ่นตอนไปสัมมนากับค่าย จีทีเอช ซึ่งปลายปีนี้ คงจะบินกลับไปไหว้ขอบคุณอีกครั้งครับ”

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

Pronouns  ( คำสรรพนาม )
Types (ชนิดของคำสรรพนาม)

Pronoun ( คำสรรพนาม )  คือคำที่ใช้แทนคำนามหรือคำเสมอนาม ( nouns- equivalent ) เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงซ้ำซาก หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูด ผู้ฟัง   หรือแทนสิ่งของที่ยังไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร   คำสรรพนาม  (pronouns ) แยกออกเป็น  7 ชนิด คือ
  • Personal Pronoun ( บุรุษสรรพนาม )  เช่น I, you, we, he , she ,it, they
  • Possessive Pronoun ( สรรพนามเจ้าของ ) เช่น mine, yours, his, hers, its,theirs, ours
  • Reflexive Pronouns ( สรรพนามตนเอง ) เป็นคำที่มี - self ลงท้าย  เช่น myself, yourself,ourselves
  • Definite Pronoun ( หรือ Demonstrative Pronouns สรรพนามเจาะจง )  เช่น  this, that, these, those, one, such, the same
  • Indefinite Pronoun ( สรรพนามไม่เจาะจง ) เช่น  all, some, any, somebody, something, someone
  • Interrogative Pronoun ( สรรพนามคำถาม ) เช่น Who, Which, What
  • Relative pronoun ( สรรพนามเชื่อมความ ) เช่น  who, which, that
1.Personal Pronouns ( บุรุษสรรพนาม )  คือสรรพนามที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งของในการพูดสนทนา มี 3 บุรุษคือ
บุรุษที่ 1ได้แก่ตัวผู้พูดI, we
บุรุษที่ 2ได้แก่ผู้ฟัง  you
บุรุษที่ 3ได้แก่ผู้ ที่พูดถึง สิ่งที่พูดถึง he, she. it , they
รูปที่สัมพันธ์กันของคำสรรพนาม
รูปประธาน 
รูปกรรม
Possessive Form
Reflexive Pronoun
Adjective
Pronoun
 I
 me
my
 mine
 myself
we
us
our
ours
ourselves
you
you
your
yours
yourself
he
him
his
his
himself
she
her
her
hers
herself
it
it
its
its
itself
they
them
their
theirs
themselves
เช่น
I saw a boy on the bus. He seemed to recognize me.
ฉันเจอเด็กคนหนึ่งบนรถประจำทาง เขาดูเหมือนจะจำฉันได้  ( He ในประโยคที่สองแทน a boy และ me แทน I  ในประโยคที่หนึ่ง )
My friend and her brother like to swim. They swim whenever they can.
เพื่อนฉันและน้องชายของเธอชอบว่ายน้ำ พวกเขาไปว่ายน้ำทุกครั้งที่มีโอกาส (  they ในประโยคที่สอง แทน My friend และ her brother ในประโยคที่ 1 )
การใช้ Personal Pronouns ที่ทำหน้าที่เป็นประธานและเป็นกรรมมีหลักดังนี้Personal Pronoun ที่ตามหลังคำกริยาหรือตามหลังบุพบท ( preposition ) ต้องใช้ในรูปกรรม เช่น
Please tell him what you want.   โปรดบอกเขาถึงสิ่งที่คุณต้องการ  ( ตามหลังดำกริยา tell )
Mr. Wilson talked with him about the project.
คุณวิลสัน พูดกับเขาเกี่ยวกับโครงการ ( ตามหลังบุพบท with )
หมายเหตุ        ถ้ากริยาเป็น verb to be สรรพนามที่ตามหลังจะใช้เป็นประธานหรือเป็นกรรม ให้พิจารณาดูว่า สรรพนามใน ประโยคนั้นอยู่ในรูปผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำ เช่น
It was she who came here yesterday.
เธอคนนึ้ ที่มาเมื่อวานนี้  ( ใช้ she เพราะเป็นผู้กระทำ )
It was her whom you met at the party last night.
เธอคนนี้ที่คุณพบที่งานเลี้ยงเมื่อคืนนี้ (ใช้ her เพราะเป็นกรรมของ   you met )
2. Possessive Pronouns ( สรรพนามเจ้าของ )  คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามเมื่อแสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่คำต่อไปนี้      mine,ours, yours, his, hers,its,theirs 
The smallest gift is mine. ของขวัญชิ้นที่เล็กที่สุดเป็นของฉัน
This is yours. อันนี้ของคุณ
His is on the kitchen counter. ของเขาอยู่บนเคาน์เตอร์ในครัว
Theirs will be delivered tomorrow. ของพวกเขาจะเอามาส่งพรุ่งนี้
Ours is the green one on the table 
ของพวกเราคืออันสีเขียวที่อยู่บนโต๊ะ
possessive pronouns มึความหมายเหมือน    possessive adjectives แต่หลักการใช้ต่างกัน
This is my book.
นี่คือหนังสือของฉัน ( my ในประโยคนี้เป็น possessive adjective ขยาย book )
This book is mine
หนังสือนี้เป็นของฉัน (  mine ในประโยคนี้เป็น possessive pronoun  ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ ( complement)  ของคำกริยา is )
3. Reflexive Pronouns ( สรรพนามตนเอง ) คือสรรพนามที่แสดงตนเอง แสดงการเน้น ย้ำให้เห็นชัดเจน มักเรียกว่า -self form of pronoun  ได้แก่
    myself. yourself, yourselves, himself, herself, ourselves. themselves, itself  มีหลักการใช้ดังน
ี้
  • ใช้เพื่อเน้นประธานให้เห็นว่าเป็นผู้กระทำการนั้นๆ ให้วางไว้หลังประธานนั้น  ถ้าต้องการเน้นกรรม (object ) ให้วางหลังกรรม เช่น
    She herself doesn't think  she'll get the job.
    The film itself wasn't very good but I like the music.
    I spoke to Mr.Wilson himself.
  • วางหลังคำกริยา เมื่อกริยาของประโยคเป็นกริยาที่ทำต่อตัวประธานเอง 
    They blamed themselves for the accident.
    พวกเขาตำหนิตนเองในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ( ตามหลังกริยา blamed )
    You are not yourseltoday.
    วันนี้คุณไม่เป็นตัวของคุณเอง ( ตามหลังกริยา are )
    I don't
     want you to pay for me. I'll pay for myself
    ฉันไม่อยากให้คุณเป็นคนจ่ายเงินให้ ฉันจะจ่ายของฉันเอง
    Julia had a great holiday. She enjoyed herself very much.
    จูเลียมีวันหยุดที่ดี เธอสนุกมาก
    George cut himself while he was shaving this morning.

    จอร์จทำมีดบาดตัวเองขณะทีโกนหนวดเมื่อเช้านี้
หมายเหตุ  ปกติ จะใช้  wash/shave/dress โดยไม่มี myself
  • เมื่อต้องการจะเน้นว่า ประธานเป็นผู้ทำกิจกรรมนั้นเอง
    Who repaired your bicycle for you? Nobody, I repaired it myself.ใครซ่อมรถจักรยานให้คุณ. ไม่มีใครทำให้ฉันซ่อมเอง
    I'm not going to do it for you. You can do it yourself.

    ฉันจะไม่ทำ( อะไรสักอย่างที่รู้กันอยู่ ) ให้นะ คุณต้องทำเอง
    By myself หมายถึงคนเดียว มีความหมายเหมือน  on my own  เช่นเดียวกับคำต่อไปนี้
    on ( my/your/his/ her/ its/our/their own     มีความหมายเหมือนกับ
    by ( myself/yourself ( singular) /himself/ herself/ itself/
     ourselves/ yourselves(plural)/ themselves )
    เช่น
    I like living on my own/by myself. ฉันชอบใช้ชีวิตอยู่คนเ้ดียว
    Did you go on holiday on your own/by yourself? เธอไปเที่ยววันหยุดคนเดียวหรือเปล่า
    Learner drivers are not  allowed to drive on their own/ by themselves.
    ผู้ที่เรียนขับรถไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถด้วยตัวเองคนเดียว
    Jack was sitting on his own/by himself in a corner of the cafe.
    แจ๊คนั่งอยู่คนเดียวทีีมุมห้องในคาเฟ
4. Definite Pronouns หรือ Demonstrative Pronouns  คือสรรพนามที่บ่งชี้ชัดเจนว่าใช้แทนสิ่งใด เช่น
 this, that, these, those, one, ones, such, the same, the former, the latter
That is incredible!    นั่นเหลือเชื่อจริงๆ  (อ้างถึงสิ่งที่เห็น)
I will never forget this.   ฉันจะไม่ลืมเรื่องนี้เลย (อ้างถึงประสบการณ์เมื่อเร็วๆนี้)
Such is my belief.  นั่นเป็นสิ่งที่ฉันเชื่อ (อ้างถึงสิ่งที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ )
Grace and Jane ar good girls. The former is more beautiful than the latter.
  เกรซและเจนเป็นเด็กดีทั้งคู่ แต่คนแรก (เกรซ)จะสวยกว่าคนหลัง (เจน)
5.Indefinite Pronouns ( สรรพนามไม่เจาะจง ) หมายถึงสรรพนามที่ใช้แทนนามได้ทั่วไป มิได้ชี้เฉพาะเจาะจงว่าแทนคนนั้น คนนี้ เช่น
everyoneeverybodyeverythingsomeeach
someonesomebodyallanymany
anyoneanybodyanythingeitherneither
no onenobodynothingnoneone
moremostenoughfewfewer
littleseveralmoremuchless
Everybody loves somebody. คนทุกคนย่อมมีความรักกับใครสักคน
Is there anyone here by the name of Smith? มีใครที่นีชื่อสมิธบ้าง
One should always look both ways before crossing the street. ใครก็ตามควรจะมองทั้งสองด้านก่อนข้ามถนน
Nobody will believe him. จะไม่มีใครเชื่อเขา
Little is expected. มีการคาดหวังไว้น้อยมาก
We, you, they ซึ่งปกติเป็น personal pronoun จะนำมาใช้เป็น indefinite pronoun เมื่อไม่เจาะจง  โดยมากใช้ในคำบรรยาย คำปราศัย เช่น
We should prepare ourselves to deal with any emergency. เรา ( โดยทั่วไป) ควรจะเตรียมพร้อมไว้เสมอสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน)
You sometimes don't know what to say in such a situation. บางครั้งพวกคุณก็ไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรในสถานการณ์เช่นนั้น.
6. Interrogative Pronouns ( สรรพนามคำถาม )  เป็นสรรพนามที่แทนนามสำหรับคำถาม ได้แก่  Who, Whom, What, Which  และ Whoever, Whomever,Whatever,Whichever   เช่น
Who want to see the dentist first? ใครอยากจะเข้าไปหาหมอฟันเป็นคนแรก? ( who ในที่นี้เป็นประธาน )
Whom do you think we should invite? เธอคิดว่าเราควรจะัเชิญใคร? (  whom ในที่นี้เป็นกรรม - object )
To whom do to wish to speak ? เธออยากจะพูดกับใคร? (  whom ในที่นี้เป็นกรรม - object )
What did she say?  เธอพูดว่าอะไรนะ? (  what เป็นกรรมของกริยา say )
Which is your cat ? แมวของเธอตัวไหน? ( which เป็นประธาน )
Which of these languages do you speak fluently? ภาษาไหนในบรรดาภาษาเหล่านี้ที่คุณพูดได้คล่อง? ( which เป็นกรรมของ speak )
หมายเหตุ   which และ  what  สามารถใช้เป็น  interrogative adjective   และ who, whom , which  สามารถใช้เป็น relative pronoun  ได้
7. Relative Pronouns ( สรรพนามเชื่อมความ ) คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวมาแล้วในประโยคข้างหน้า   และพร้อมกันนั้นก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยคทั้งสอง ให้เป็นประโยคเดียวกัน   เช่นคำต่อไปนี้  who, whom, which whose ,what, that , และ indefinite relative pronouns เช่น whoever, whomever,whichever, whatever
Children who (that) play with fire are in great danger of harm.
The book that she wrote was the best-seller
He's the man whose car was stolen last week.
She will tell you what you need to know.The coach will select whomever he pleases.
Whoever cross this line will win the race
.

You may eat whatever you  like at this restaurant.